วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 11 (14/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาสวันนี้สดใสมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการไม่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของนักศึกษาชั้นปีที่3ว่าควรจะมีความรับผิดชอบและควรจะมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จากนั้นอาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จากนั้นอาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานการเรียนรู้แล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 10 (07/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกๆคน บรรยากาศวันนี้ที่ห้องเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ถามถึงวันกีฬาสีในวันพรุ่งนี้ นักศึกษาและอาจารย์ปรึกษากันเรื่อง อาหารว่านักศึกต้องการอาหารในลักษณะไหน เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม้ ขั้นนำของอรอุมาเขียนแค่ว่าคำคล้องจ้อง อาจารย์ให้หาเนื้อหาคำคล้องจองมาให้อาจารย์ดูด้วยแต่ถ้าหาไม่ได้ เราสามารถแต่งเองก็ได้ และคำคล้องจองต้องมีภาพให้เด็กดูจะเป็นผลดี เด็กจะได้ประสบการณ์จากการอ่าน คือ เด็กได้อ่านภาพ ภาพนั้นมีความหมายและแปลเป็นภาษาและของอรอุมาไม่จำเป็นต้องให้เด็กจำแนกสีก็ได้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ เช่น ทำงานศิลปะโดยใช้รูปร่างรูปทรง,ขนาด,การนับ การวัดต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือเด็กเป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่น ใช้ร่างกาย คือ มือ ชอก เป็นเครื่องมือแบบไม่เป็นทางการ และทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น คือ ตัดรูปมือให้มีขนาดเท่ากัน และจากนั้นก็ให้เด็กหัดใช้ไม้บรรทัดในการวัด
การตวง เครื่องแบบไม่เป็นทางการคือ มือ ถัดไปคือ ตาชั่ง 2 แขน และต่อไปคือตาชั่งกิโล
การวัดปริมาณ เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการคือหาพาชนะมาใช้ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดไปคือบิ๊กเกอร์
การวัดเวลา เครื่องมือไม่เป็นทางการคือ ดูพระอาทิตย์ ถัดไปดูเงา ถัดไปดู นาฬิกา
คณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้คือ
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ และเป็นทักษะการฟัง
2. ผู้นำผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่อง
4. ฟังและปฏิบัติตาม
5. ฝึกทักษะความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
อาจารย์บอกว่าเราสามารถนำคณิตสาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆได้มากมาย

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 9 (31/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ในห้องเรียนหนาวมากๆค่ะ เพื่อนๆจึงปิดแอร์ วันนี้อาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถาม เพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยอาจารย์จะนำงานที่ได้รับมอบหมายจากครั้งที่แล้วมาสาธิตให้ดู แต่เพื่อนๆในห้องทำมาไม่เรียบร้อยอาจารย์จึงไม่ได้สาธิตให้ดู วันนี้อาจารย์จึงได้อธิบาย เกี่ยวกับ การเรียนรู้ของเด็ก ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สาระ มาตรฐาน การเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐาน
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือ เป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พิชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
- อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
เรื่อง การเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
-อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า
เรื่อง การเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
- อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น

บันทึกครั้งที่ 8 (24/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย ดิฉันจึงได้ศึกษาความรู้ในการเรียนการสอนวันนี้จากเพื่อน วันนี้อาจารย์ติดธุระจึงเข้าห้องช้า อาจารย์เข้ามาด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และได้ถามถึง จากการที่เราไปสังเกตเด็กในแต่ละโรงเรียนว่ามีปัญหาอะไรหาเปล่า แต่ละโรงเรียนก็ได้เล่าให้อาจารย์ฟังอย่างสนุกสนาน บางคนก็มีปัญหา อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของแต่ละคน อาจารย์พูดถึงพัฒนาการของ ไวกอสกี่ และได้บอกว่านักศึกษาไม่ค่อยแน่นในวิชาการ อาจารย์จึงเน้นการสอนที่เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการใช้ชีวิต และอาจารย์บอกว่าในวันที่เราไปสังเกตเด็กเราควรเก็บตักตวงความรู้ให้มากที่สุด มีน้ำใจต่อครูพี่เลี้ยงและทุกๆคนในโรงเรียน และอาจารย์ให้มองหาปัญหาในโรงเรียนที่เราไปสังเกต เพื่อต่อยอดทำโครงการตอนเราไปฝึกสอน อาจารย์ยกตัวอย่างเด็กไม่ชอบกินผัก
1)ปัญหาที่เราพบเจอ
ส่วนมากเด็กไม่ชอบกินผักเพราะ ผักมีรสชาติขม มีกลิ่น เหม็นฉุน ทำให้เด็กมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผักและไม่อยากที่จะกินผัก
2)เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเด็ก
เราต้องใช้นิทานหรือเพลงเพื่อทำให้เห็นถึงประโยชน์ของผัก
3)ทำกิจกรรม
- สร้างนิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
- ปลูกผักช่วยกัน
- นำผักที่ปลูกมาชุบแป้งทอด
4)ย้ำเตือนให้เด็กรู้ว่าผักมีประโยชน์
- แสดงละครเกี่ยวกับ นิทานโดยทำจากวัสดุเหลือใช้ โดยความร่วมมือกันระหว่างครูกับนักเรียน เรื่องผัก
เมื่อคิดโครงการเสร็จแล้วนำไปลองใช้กับเด็ก และดูว่าก่อนทำโครงการ เด็กมีคนกินผักกี่คน และหลังจากนำโครงการไปใช้แล้วเด็กที่ไม่ชอบกินผักมีจำนวนลดลงกี่คน จากการที่เราทำโครงการระยะยาวแล้ว สามารถนำไปทำวิจัยในชั้นเรียนได้
จากที่เราไปสังเกตโรงเรียนนั้นมีสื่ออะไรที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้าง ห้องเรียนของดิฉันมีดังนี้
1) แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์
2) โปสเตอร์ เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก 1- 100
3) สถิติการมาเรียน
จากนั้นอาจารย์เชื่อมดยงเข้ามายังหน่วยที่ได้เขียนไป อาจารย์ให้ไปเขียนแผนการสอนมาเพิ่มเติมตามวันที่ตนเองได้รับผิดชอบมาคนละ 1 แผน และให้เตรียมสื่ออุปกรณ์มาให้เรียบร้อย ส่วนขั้นนำไม่ควรเป็นการสนทนาสักถามเราควรหา เพลง นิทาน คำคล้องจอง เพื่อให้มาความน่าสนใจ เราสามารถเปลี่ยนหน่วยหรือไม่เปลี่ยนก็ได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
-เขียนชื่อจริง(ชื่อเล่น) ขนาด 38 Angsana new
-เขียนเลขที่ของตนเอง ขนาด 38 Angsana new
-เขียนวันที่ตนเองได้ ขนาด 24 Angsana new (1.5x1.5นิ้ว)
-ตัดกระดาษแข็งตามสีวันของตนเอง ขนาด 2X4 นิ้ว

บันทึกครั้งที่ 7 (17/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่ 6 (10/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันที่ 5 – 19 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ออกปฏิบัติการวิชาชีพครู 1 จึงไม่มีการเรียนการสอน

บันทึกครั้งที่ 5 (03/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน วันนี้เป็นวันหยุดชดเชยปีใหม่ จึงไม่มีการเรียนการสอน