วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 4 (27/12/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้หนาวกำลังดีเลยค่ะ วันนี้อาจารย์เปิดดูความคืบหน้าของบล็อกแต่ละคน อาจารย์บอกว่าการบันทึกอนุทินนักศึกษาไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม หรือหาเพิ่มเติมก็ได้ แต่ให้เขียนในสิ่งที่เรียนในห้องมาให้ละเอียด และควรเพิ่มสิ่งแปลกใหม่ให้กับบล็อกตนเอง ให้มีความน่าสนใจ หลังจากตรวจบล็อกเสร็จอาจารย์ก็ให้เข้ากลุ่มเดิมตามที่ได้เขียนหน่วยการเรียนรู้ อาจารย์ได้อธิบายงานที่ส่งไปที่ละกลุ่ม บอกถึงข้อดีและข้อบกพร่องของแต่ละกลุ่มและอาจารย์ย้ำเสมอว่าเราต้องบูรณาการให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระอื่นๆด้วย งานของกลุ่มดิฉันที่ส่งไปนั้นอาจารย์ให้นำไปปรับปรุงแก้ไข กลุ่มของดิฉันทำมา 3 วัน เนื่องจากตอนแรกอาจารย์ให้เขียนแค่ 3 วัน เพราะมีสามคนอาจารย์จึงได้ให้ไปทำมาให้ครบ 5 วัน และทำตารางผู้รับผิดชอบของแต่ละวันมาอีก 1 แผ่น
งานที่ได้รับมอบหมาย
-คิดกิจกรรมมา 1 กิจกรรม ในวันที่ตนเองรับผิดชอบ

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 3 (20/12/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สบายๆค่ะไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป วันี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับ ความหมายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และการเสริมแรง
คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
1. การจำแนกประเภท หมายถึง การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่องและสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้
2. การจัดหมวดหมู่
3. การเรียงลำดับ หมายถึง การจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎเท่านั้น เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว ฯลฯ
4. การเปรียบเทียบ โดยเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ในลักษณะการเปรียบเทียบ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่าหนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
5. รูปร่างรูปทรง นอกจากการจัดให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลมสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้าง และแคบ
6. พื้นที่
7. การชั่งตวงวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
8. การนับ หมายถึง คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 – 10 หรือมากกว่านั้น ฯลฯ
9. การรู้จักตัวเลข หมายถึง การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
11. เวลา
12. การเพิ่มและลดจำนวน
การเสริมแรงมี 2 แบบ ดังนี้
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองเพิ่มมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใด ๆ ซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้การตอบสนองเพิ่มขึ้นในทางลบ เป็นตัวเสริมแรงทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ เป็นการนำตัวเสริมแรงลบเข้ามา เพราะการทำโทษบางอย่างหากนำไปใช้จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะที่เข้มขึ้น

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 (13/12/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สดชื่นมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ดังนี้
ความสำคัญ คือ เครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ที่เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเรื่องของ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ ตัวเลข เป็นต้น
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความสำคัญ คือ เป็นหลักเกณฑ์ในการพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กและถ้าครูมีความเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้จะช่วยให้ครูสะดวกในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น
จากนั้นก็ได้มีการยกตัวอย่างกิจกรรม คือ การลงชื่อของเด็กเพื่อให้เด็กได้รู้เกี่ยวกับด้านคณิตศาสตร์ในเรื่องของลำดบ ก่อน-หลัง
จากการดูแผนจากจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มีดังนี้
1.จำแนก
2.ปริมาณ
3.จำนวน
4.เรียงลำดับ
5.รูปทรง
6.เปรียบเทียบ

บนทึกครั้งที่ 1 (06/12/54)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้สบายๆและสดชื่นมาก วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการที่เราจะสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยนั้น เราต้องเลือกหน่วยที่เหมาะสมกับเด็ก คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและมีอิทธิพลต่อเด็ก
งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อไปหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ โดยให้เขียนชื่อหนังสือ เลขหมู่และชื่อผู้แต่งมาให้ได้มากที่สุดแล้วนำมาส่งในคาบหน้า จากนั้นอาจารย์ก็สั่งให้แต่ล่ะคนกลับไปหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ในระดับ3-6ขวบว่ามีอะไรบ้างแล้วสรุปลงบล็อก
มาตรการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน
มาตรฐาน ค.ป.1.1 :เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับพัฒนาการ