วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 15 (11/03/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ร้อนนิดหน่อยค่ะ วันนี้เป็นการสอบสอนนอกตาราง เพื่อนในห้องมาสายกันเป็นส่วนมาก วันนี้อาจารย์ได้ให้เลือกว่ากลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มแรกและกลุ่มต่อไป เมื่อเลือกได้แล้วอาจารย์ก็ให้เริ่มสอบสอนที่ละคนแต่ละคนที่มาสอบสอนเสร็จแล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพื่อไปปรับใช้ให้ดีขึ้น สำหรับดิฉันสอนเรื่องประเภทของผักบุ้งอาจาย์ได้ให้คำแนะนำดังนี้
การนำเข้าสู่บทเรียนใช้ปริศนาคำทายกับเด็กแล้ว จากนั้นให้เด็กสังเกตของผักบุ้ง 2 ประเภท แล้วอาจารย์บอว่าเมื่อสังเกตแล้วให้นำมาเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของผักบุ้งว่าอะไรเหมือนกันและอะไรต่างกัน จากนั้นให้เด็กออกมาจัดประเภทของผักบุ้งโดยนับจำนวนทั้งหมดของผักบุ้ง แล้วกำหนเกณฑ์ขึ้นมาว่าจะให้เด็กนำผักบุ้งอะไรใส่ตระกร้า ดิฉันให้เด็กหยิบผักบุ้งไทยใส่ตะกร้าและนับผักบุ้งที่เหลือว่าเหลือจำนวนเท่าไร จากนั้นนำตัวเลขมาวางกำกับโดยให้เด็กเห็นตัวเลขชัดเจน แล้วสรุปโดยนำตารางที่เปรียบเทียบไว้ข้างต้นแล้วมาทบทวนกับเด็กโดยใช้คำถามว่า "ผักบุ้งจีนกับผักบุ้งไทยเหมือนกันอย่างไร" เป็นต้น

บันทึกครั้งที่ 14 (06/03/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ร้อนมากๆค่ะ วันนี้อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตารางในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.-12.00 น. จากนั้นอาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนในการสอนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
- การบูรณาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
จากนั้นอาจารย์อาจารย์ได้ให้เพื่อนที่เขียนคำคล้องจองหรือเพลงมาแล้วนำออกมาให้อาจารย์และเพื่อนๆดู
พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้องว่า การเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องเขียนแยกคำเพื่อให้เด็กเข้าใจและจดจำคำว่าแต่ล่ะคำเขียนอย่างไรและคำๆนั้นมีกี่พยางค์ และการเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องมีภาพประกอบแทนคำด้วยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและรู้ความหมายระหว่างคำกับภาพ จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน เช่น การร้องเพลงเพื่อสงบเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่บูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ทำให้ดึงดูดความสนใจและความตื่นเต้น หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถสงบเด็กได้ และช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้นำแผนการสอนแบบ Project ของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดู "เรื่อง รถ" ซึ่งอาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อเด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

บันทึกครั้งที่ 13 (28/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป ในวันนี้อาจารย์ได้ขอดูแผนการสอนของนักศึกษาที่ถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าตรงกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ได้นำแผนของตัวเองมาทำให้เปรียบเทียบไม่ได้ว่าตรงตามมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาตร,เวลา
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 สิ่ง เช่น เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งของเรขาคณิตไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทางได้
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรกความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พีชคณิตทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
วิธีคิดให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน และการตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

บันทึกครั้งที่ 12 (21/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้หนาวมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแผนที่ไปปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำไปเมื่อวันพฤหัสบดีตอนเย็นแต่ยังมีเพื่อนบางกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าพบอาจารย์อาจารย์จึงให้คำปรึกษาอย่างล่ะเอียดภายในห้องเรียน ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือช่วยกันคิดว่าจากแผนที่เขียนมาแต่ล่ะกลุ่มต้องการสื่ออะไรกันบ้างให้เขียนรายการส่งอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ไปซื้อมาให้หรือไปเบิกเงินค่าอุปกรณ์การเรียนมาให้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ล่ะกลุ่มถ่ายเอกสารแผนของตัวเองเก็บไว้แล้วนำแผนจริงรวบรวมส่งอาจารย์

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 11 (14/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาสวันนี้สดใสมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการไม่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีของนักศึกษาชั้นปีที่3ว่าควรจะมีความรับผิดชอบและควรจะมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี จากนั้นอาจารย์ได้เปิดดูบล็อกของแต่ล่ะคนว่าเป็นยังไงบ้าง จากนั้นอาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มมานั่งรวมกันเพื่อดูแผนของแต่ล่ะกลุ่มพร้อมให้คำแนะนำว่า แผนของตัวเองที่แก้มาแล้วนำมาตรวจกับมาตรฐานการเรียนรู้แล้วเขียนแผนใหม่มา จากนั้นเตรียมสื่อสำหรับการสอนต่อไป จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงหัวใจสำคัญของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ คือ
-เรื่องของสติปัญญา
-เรื่องของเนื้อหาสาระ
-ภาษา
-คณิตศาสตร์
-วิทยาศาสตร์
-สังคม
-ร่างกาย
-อารมณ์

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 10 (07/02/55)

สวัสดีอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนทุกๆคน บรรยากาศวันนี้ที่ห้องเย็นสบาย วันนี้อาจารย์ถามถึงวันกีฬาสีในวันพรุ่งนี้ นักศึกษาและอาจารย์ปรึกษากันเรื่อง อาหารว่านักศึกต้องการอาหารในลักษณะไหน เสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนและช่วยกันวิเคราะห์ อาจารย์ได้บอกถึงข้อบกพร่องและแนะนำ อาจารย์ยกตัวอย่างของนางสาวอรอุมาขึ้นมา เรื่อง ส่วนประกอบของดอกไม้ ขั้นนำของอรอุมาเขียนแค่ว่าคำคล้องจ้อง อาจารย์ให้หาเนื้อหาคำคล้องจองมาให้อาจารย์ดูด้วยแต่ถ้าหาไม่ได้ เราสามารถแต่งเองก็ได้ และคำคล้องจองต้องมีภาพให้เด็กดูจะเป็นผลดี เด็กจะได้ประสบการณ์จากการอ่าน คือ เด็กได้อ่านภาพ ภาพนั้นมีความหมายและแปลเป็นภาษาและของอรอุมาไม่จำเป็นต้องให้เด็กจำแนกสีก็ได้เราสามารถเชื่อมโยงเข้ากับคณิตศาสตร์ เช่น ทำงานศิลปะโดยใช้รูปร่างรูปทรง,ขนาด,การนับ การวัดต้องมีเครื่องมือ เครื่องมือเด็กเป็นเครื่องมือง่ายๆ เช่น ใช้ร่างกาย คือ มือ ชอก เป็นเครื่องมือแบบไม่เป็นทางการ และทำให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น คือ ตัดรูปมือให้มีขนาดเท่ากัน และจากนั้นก็ให้เด็กหัดใช้ไม้บรรทัดในการวัด
การตวง เครื่องแบบไม่เป็นทางการคือ มือ ถัดไปคือ ตาชั่ง 2 แขน และต่อไปคือตาชั่งกิโล
การวัดปริมาณ เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการคือหาพาชนะมาใช้ที่มีขนาดเท่ากัน ถัดไปคือบิ๊กเกอร์
การวัดเวลา เครื่องมือไม่เป็นทางการคือ ดูพระอาทิตย์ ถัดไปดูเงา ถัดไปดู นาฬิกา
คณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่ได้คือ
1. ฟังและปฏิบัติตามจังหวะ และเป็นทักษะการฟัง
2. ผู้นำผู้ตาม
3. บรรยายสร้างเรื่อง
4. ฟังและปฏิบัติตาม
5. ฝึกทักษะความจำ
6. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
อาจารย์บอกว่าเราสามารถนำคณิตสาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับวิชาอื่นๆได้มากมาย

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 9 (31/01/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ในห้องเรียนหนาวมากๆค่ะ เพื่อนๆจึงปิดแอร์ วันนี้อาจารย์ถามว่า ใครเข้าห้องก่อน ใครมาก่อนเป็นคนแรก เหตุผลที่อาจารย์ถาม เพื่อให้เด็กรู้ลำดับทางคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์สามารถบูรนาการให้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยอาจารย์จะนำงานที่ได้รับมอบหมายจากครั้งที่แล้วมาสาธิตให้ดู แต่เพื่อนๆในห้องทำมาไม่เรียบร้อยอาจารย์จึงไม่ได้สาธิตให้ดู วันนี้อาจารย์จึงได้อธิบาย เกี่ยวกับ การเรียนรู้ของเด็ก ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สาระ มาตรฐาน การเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐาน
การเรียนรู้ของเด็ก คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ประสบการณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ ฝึกให้เด็กคิดเชิงเหตุผล,คิดเชิงวิเคราะห์,คิดเชิงสังเคราะห์เพื่อให้เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์
สาระ คือ เป็นตัวกำหนดหน่วยการสอนและนำไปสู่การบูรนาการ การบูรนาการก็จะนำไปสู่มาตรฐาน
มาตรฐาน คือ มีเกณฑ์เป็นตัวกำหนด
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางคณิตศาสตร์
มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกณฑ์มาตรฐานดังนี้
1) จำนวนและการดำเนินการ
2) การวัด
3) เรขาคณิต
4) พิชคณิต
5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6) ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เรื่อง จำนวน
1) การใช้จำนวนและบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-อายุ 3 ปี นับของได้ไม่เกิน 5 สิ่ง
-อายุ4 ปี นับของได้ไม่เกิน 10 สิ่ง
2) อ่านเลขฮินดูอารบิก
- อายุ 5 ปี อ่านเลขฮินดูอารบิกได้ เด็กระบุเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้ และเขียนเลขไทยและเลขฮินดูอารบิกได้
เรื่อง การเปรียบเทียบ
-อายุ 3 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่
-อายุ 4 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า
-อายุ 5 ปี เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ 2 กลุ่ม และบอกว่ามีสิ่งของเท่ากันหรือไม่ และบอกว่ามีน้อยกว่าหรือมากกว่า และเรียงลำดับ จากน้อยกว่าไปหามากกว่า
เรื่อง การเรียงลำดับ
-อายุ 3 ปี ไม่สามารถเรียงลำดับได้
-อายุ 4 ปี เรียงลำดับ 3 สิ่งได้
-อายุ 5 ปี เรียงลำดับ 3 ได้ แต่ไม่เกิน 5 สิ่ง
เรื่อง การรวมกลุ่มและแยกกลุ่ม
1) การรวมสิ่งต่างๆ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง
- อายุ 3 ปี รวมของ 2 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 4 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 5 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น
- อายุ 5 ปี รวมของ 2 สิ่งไม่เกิน 10 สิ่ง ให้มีจำนวนมากขึ้น