วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 15 (11/03/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ร้อนนิดหน่อยค่ะ วันนี้เป็นการสอบสอนนอกตาราง เพื่อนในห้องมาสายกันเป็นส่วนมาก วันนี้อาจารย์ได้ให้เลือกว่ากลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มแรกและกลุ่มต่อไป เมื่อเลือกได้แล้วอาจารย์ก็ให้เริ่มสอบสอนที่ละคนแต่ละคนที่มาสอบสอนเสร็จแล้วอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเพื่อไปปรับใช้ให้ดีขึ้น สำหรับดิฉันสอนเรื่องประเภทของผักบุ้งอาจาย์ได้ให้คำแนะนำดังนี้
การนำเข้าสู่บทเรียนใช้ปริศนาคำทายกับเด็กแล้ว จากนั้นให้เด็กสังเกตของผักบุ้ง 2 ประเภท แล้วอาจารย์บอว่าเมื่อสังเกตแล้วให้นำมาเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของผักบุ้งว่าอะไรเหมือนกันและอะไรต่างกัน จากนั้นให้เด็กออกมาจัดประเภทของผักบุ้งโดยนับจำนวนทั้งหมดของผักบุ้ง แล้วกำหนเกณฑ์ขึ้นมาว่าจะให้เด็กนำผักบุ้งอะไรใส่ตระกร้า ดิฉันให้เด็กหยิบผักบุ้งไทยใส่ตะกร้าและนับผักบุ้งที่เหลือว่าเหลือจำนวนเท่าไร จากนั้นนำตัวเลขมาวางกำกับโดยให้เด็กเห็นตัวเลขชัดเจน แล้วสรุปโดยนำตารางที่เปรียบเทียบไว้ข้างต้นแล้วมาทบทวนกับเด็กโดยใช้คำถามว่า "ผักบุ้งจีนกับผักบุ้งไทยเหมือนกันอย่างไร" เป็นต้น

บันทึกครั้งที่ 14 (06/03/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ร้อนมากๆค่ะ วันนี้อาจารย์ได้นัดสอบสอนนอกตารางในวันอาทิตย์ ที่ 11 มีนาคม 2555 เวลา 9.00 น.-12.00 น. จากนั้นอาจารย์ได้บอกเกณฑ์การให้คะแนนในการสอนดังนี้
1. อาจารย์จะดูแผนการสอนตรงตามมาตรฐานหรือไม่
2. การสอน
- การบูรณาการ
- สื่อ
- เทคนิค
- การประเมิน
จากนั้นอาจารย์อาจารย์ได้ให้เพื่อนที่เขียนคำคล้องจองหรือเพลงมาแล้วนำออกมาให้อาจารย์และเพื่อนๆดู
พร้อมทั้งให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนคำคล้องจองที่ถูกต้องว่า การเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องเขียนแยกคำเพื่อให้เด็กเข้าใจและจดจำคำว่าแต่ล่ะคำเขียนอย่างไรและคำๆนั้นมีกี่พยางค์ และการเขียนคำคล้องจองหรือเพลงต้องมีภาพประกอบแทนคำด้วยเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและรู้ความหมายระหว่างคำกับภาพ จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนเด็กว่า เราต้องมีเทคนิคการสอนที่ทำให้เด็กอยากรู้ และสนใจที่ครูสอน เช่น การร้องเพลงเพื่อสงบเด็กเราอาจจะมีเพลงเดียว แต่บูรณาการเนื้อเพลงให้มีความหลากหลายในการร้อง ทำให้ดึงดูดความสนใจและความตื่นเต้น หากเราทำได้เช่นนี้ก็จะสามารถสงบเด็กได้ และช่วงท้ายคาบอาจารย์ได้นำแผนการสอนแบบ Project ของโรงเรียนเกษมพิทยามาให้ดู "เรื่อง รถ" ซึ่งอาจารย์ให้ความรู้ว่าคณิตศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัว และเป็นมาตรฐานสากลแบบเดียวกันที่มีบวก ลบ คูณ หาร ที่เหมือนกัน เวลาที่เราสอนเด็กต้องดึงประสบการณ์ เพราะประสบการณ์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เพื่อเด็กๆได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

บันทึกครั้งที่ 13 (28/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป ในวันนี้อาจารย์ได้ขอดูแผนการสอนของนักศึกษาที่ถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าตรงกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ได้นำแผนของตัวเองมาทำให้เปรียบเทียบไม่ได้ว่าตรงตามมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาตร,เวลา
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 สิ่ง เช่น เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งของเรขาคณิตไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทางได้
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรกความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พีชคณิตทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
วิธีคิดให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน และการตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

บันทึกครั้งที่ 12 (21/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้หนาวมากค่ะ วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแผนที่ไปปรับปรุงแก้ไขหลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำไปเมื่อวันพฤหัสบดีตอนเย็นแต่ยังมีเพื่อนบางกลุ่มที่ยังไม่ได้เข้าพบอาจารย์อาจารย์จึงให้คำปรึกษาอย่างล่ะเอียดภายในห้องเรียน ระหว่างนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือช่วยกันคิดว่าจากแผนที่เขียนมาแต่ล่ะกลุ่มต้องการสื่ออะไรกันบ้างให้เขียนรายการส่งอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ไปซื้อมาให้หรือไปเบิกเงินค่าอุปกรณ์การเรียนมาให้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ล่ะกลุ่มถ่ายเอกสารแผนของตัวเองเก็บไว้แล้วนำแผนจริงรวบรวมส่งอาจารย์