วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกครั้งที่ 13 (28/02/55)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆทุกคน บรรยากาศวันนี้ไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป ในวันนี้อาจารย์ได้ขอดูแผนการสอนของนักศึกษาที่ถ่ายเก็บไว้เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าตรงกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ แต่มีนักศึกษาบางคนไม่ได้นำแผนของตัวเองมาทำให้เปรียบเทียบไม่ได้ว่าตรงตามมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์เริ่มต้นสอนเรื่อง การวัด
การวัด คือ การหาค่า ปริมาณ อาจเป็นน้ำหนัก,ปริมาตร,เวลา
การเปรียบเทียบ คือ เป็นการเปรียบเทียบสิ่งของ 2 สิ่ง เช่น เปรียบเทียบจำนวนของสิ่งของเรขาคณิตไม่ใช่แค่เรื่องรูปร่างรูปทรงเพียงอย่างเดียว แต่จะบอกเรื่องของตำแหน่งทิศทางได้
- รูป 3 มิติ เด็กสามารถมองเห็นทุกด้าน
- รูป2 มิติ เราสามารถนำเหรียญบาทมาให้เด็กดู
อาจารย์ยกตัวอย่างให้รู้ว่า แพ็ทเทิตคืออะไร ให้นักศึกษาออกมา 3 คน แล้วให้เพื่อนอีก 3 คนมาทำตามรูปแบบเพื่อน 3 คนแรกความสัมพันธ์สองแกน จะต้องนึกถึงพวกกราฟ แต่ของเด็กจะเป็นพวกภาพทั้งหลายจะนำไปสู่พีชคณิตทักษะกระบวนการคณิตศาสตร์
1. มีการแก้ไขปัญหาอยากง่าย
2. ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ
วิธีคิดให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เช่น คำถาม มีเค้ก 1 อัน แบ่งให้เพื่อน 3 คน คนละเท่าๆกันเด็กๆมีวิธีทำอย่างไรค่ะ การที่เราใช้คำถามแบบนี้เป็นการฝึกเด็กให้คิดเป็นและเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
เด็กใช้เหตุผลประกอบการคิดและทำให้มีประสบการในการให้เหตุผลประกอบการคิดมากขึ้น
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดว่าตัวเองเป็นเด็กและให้หาวิธีการคิดมา เพื่อนๆช่วยกันคิดได้ทั้งหมด 3 วิธีคือ
1. แบ่งเป็น 3 ส่วนรูป Y
2. แบ่งเป็น 4 ส่วน และส่วนที่4ให้แบ่งเป็น3 ส่วนอีกครั้ง
3. แบ่งเป็น 4 ส่วน และตัดเป็น 3 ชั้น จะได้เค้ก 12 ชิ้น จากนั้นอาจารย์ให้เลือกวิธีที่ดีที่สุดและให้เหตุผลในการตัดสินใจ วิธีที่ดีที่คือ วิธีที่ 2 เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้หน้าเค้กเหมือนกัน มีโอกาสในการแบ่งเท่ากันกันมากที่สุด ส่วนวิธีที่ 1 นั้นเด็กอาจจะแบ่งไม่เท่ากัน เพราะเป็น 3 ส่วนก็จริง แต่รูป Y ปากนั้นจะแคบหรือกว้างไม่เท่ากัน และวิธีที่ 3 เด็กอาจจะไม่พอใจเพราะได้หน้าเค้กไม่เหมือนกัน และการตัดสินใจเด็กจะใช้ภาษา
และสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น